ถึงสหกรณ์เรื่องค้ำประกัน
Posted: พ.จ.อ.วัฒน์ธนชัย Date: 2022-02-23 10:58:31
   
  ในกระดานกระตู้ข่าวของสหกรณ์จะเห็นว่ามีแต่กระทู้หาผู้ค้ำประกัน มันสะท้อนถึงปัญหาของสมาชิกแต่ทำไม่ทางสหกรณ์ถึงไม่รายงานหรือไม่นำปัญหานี้มาพิจารณาเป็นวาระเร่งด่วนทำให้มองว่าไม่ได้สนใจปัญหาของสมาชิกเลยและไม่ต้องรอถึงวาระนู้นนี่นั่น มันไม่ทันกาลอยากให้เร่งพิจารณาโดยเร็วเพราะมันคือทางออกของสมาชิก
 
 

   
 
 
ความคิดเห็นที่ 1  
โดย :  2022-03-08 09:48:56
 
 
  1.ความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน คืออะไร ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน โดยจะจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันไว้จำนวนเท่าใดก็ได้ หากไม่จำกัดความรับผิดไว้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างไม่มีจำกัดซึ่งรวมไปถึงดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชำระ ตลอดจนภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้นั้น ผลของสัญญาค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งลูกหนี้จะผิดนัดเมื่อ ๑. หนี้ถึงกำหนดชำระลูกหนี้ไม่ชำระหนี้และเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ลูกหนี้ผิดนัดเพราะเขาได้เตือนแล้ว ๒. หนี้มีกำหนดเวลาชำระแน่นอน ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลา ลูกหนี้ผิดนัดโดยไม่ต้องเตือน ๓. กรณีที่กำหนดว่าต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ชำระหนี้ เมื่อได้บอกกล่าวล่วงหน้าแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ในกำหนดตามคำบอกกล่าว ลูกหนี้เป็นผู้ผิดนัด ๔. หนี้ละเมิดลูกหนี้ผิดนัดในเวลาทำละเมิด สิทธิของผู้ค้ำประกัน ๑. ผู้ค้ำประกันมีสิทธิขอให้เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน เว้นแต่ลูกหนี้ตกเป็นคนล้มละลาย หรือไม่ปรากฏว่าอยู่ที่ใดในราชอาณาจักร ๒. ถ้าผู้ค้ำประกันพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้มีทางที่จะชำระหนี้ได้ และการที่จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้จะไม่เป็นการยาก เจ้าหนี้ต้องบังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน ซึ่งเป็นกรณีที่ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันถูกฟ้องคดีต่อศาลเป็นคดีเดียวกัน ถ้าเจ้าหนี้ฟ้องเฉพาะผู้ค้ำประกันโดยไม่ได้ฟ้องลูกหนี้ด้วย ผู้ค้ำประกันจะเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไปบังคับชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อนไม่ได้เพราะลูกหนี้เป็นบุคคลนอกคดี ๓. ถ้าเจ้าหนี้ยึดถือทรัพย์สินอย่างอื่นของลูกหนี้ไว้เป็นประกัน เมื่อผู้ค้ำประกันร้องขอ เจ้าหนี้จะต้องให้ชำระหนี้เอาจากทรัพย์ซึ่งเป็นประกันนั้นก่อน การยึดถือทรัพย์ของลูกหนี้ไว้เป็นประกันนั้นจะมีขึ้นก่อนหรือหลังการทำสัญญาค้ำประกันก็ได้ แต่หากทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของบุคคลภายนอกผู้ค้ำประกันจะร้องขอให้เจ้าหนี้เอาชำระหนี้จากทรัพย์ของบุคคลภายนอกก่อนไม่ได้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันทำสัญญาผูกพันตนกับเจ้าหนี้ เพื่อรับรองว่าหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ เจ้าหนี้กับผู้ค้ำประกันจึงอาจตกลงกันว่าให้ผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็ได้ ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงสามารถใช้บังคับได้ แต่ผู้ค้ำประกันยังมีฐานะเป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้มีฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม เพียงแต่ความรับผิดของผู้ค้ำประกันมีอย่างลูกหนี้ร่วมเท่านั้น กล่าวคือเจ้าหนี้สามารถฟ้อง บังคับเอากับผู้ค้ำประกันได้โดยผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิขอให้เจ้าหนี้เรียกให้ชำระหนี้เอาจากลูกหนี้ก่อน ไม่มีสิทธิขอให้บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนและไม่มีสิทธิขอให้บังคับเอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกัน และหากลูกหนี้รับสภาพหนี้เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงย่อมมีผลถึงผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ค้ำประกันที่รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมซึ่งได้ใช้หนี้ให้กับเจ้าหนี้ไปแล้วมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ได้ ภายในอายุความ ๑๐ ปี โดยไม่คำนึงถึงอายุความของหนี้ประธาน แต่ในกรณีที่เจ้าหนี้ฟ้องผู้ค้ำประกันต่อศาล แล้วผู้ค้ำประกันละเลยไม่ยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้ ผู้ค้ำประกันย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอากับลูกหนี้เพียงเท่าที่ไม่ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้ว่ามีข้อต่อสู้เช่นนั้นและความไม่รู้นั้นไม่ได้เป็นความผิดของตน ในทางปฏิบัติแล้ว เจ้าหนี้จะมีแบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความระบุว่าผู้ค้ำประกันขอรับผิดต่อเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม และไม่ได้จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันไว้จึงต้องรับผิดในหนี้ของลูกหนี้เต็มจำนวน ทั้งผู้ค้ำประกันก็ไม่สามารถแก้ไขรายละเอียดต่างๆ ตามแบบพิมพ์ในสัญญา ค้ำประกันนั้นได้ ประกอบกับความเกรงใจลูกหนี้ ซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กันทางสังคมกับผู้ค้ำประกัน เมื่อลูกหนี้ร้องขอให้ช่วยค้ำประกันจึงยากที่จะปฏิเสธ แต่เมื่อถูกฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน (รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม) ลูกหนี้กลับไม่รับผิดชอบใด ๆ มิหนำซ้ำเมื่อผู้ค้ำประกันได้ใช้หนี้ให้กับเจ้าหนี้ไปแล้ว ลูกหนี้ก็ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ พอที่จะให้ผู้ค้ำประกันฟ้องไล่เบี้ยได้ ดังนั้น ก่อนค้ำประกันใครต้องคิดให้ดีก่อนตัดสินใจ จะได้ไม่เสียใจ เสียทรัพย์ และเสียเพื่อนในภายหลัง 2. ระเบียบการกู้ยืมเงินของสหกรณ์ ต้องใช้ผู้ค้ำประกันอย่างไร ในกู้เงินที่มีวงเงินกู้ตั้งแต่ 1,500,000 บาทลงมาใช้ผู้ค้ำประกันเงินกู้จำนวน 2 คน และวงเงินกู้ตั้งแต่ 1,500,000 บาทขึ้นไปใช้ผู้ค้ำประกันเงินกู้จำนวน 3 คน 3. สิทธิในการค้ำประกันของสมาชิกสหกรณ์ กำหนดอย่างไร สมาชิก 1 คน สามารถใช้สิทธิการค้ำประกันเงินกู้สามัญได้ 3 สัญญา และเงินกู้ฉุกเฉินได้ 2 สัญญา (รวม 5 สัญญา) 4. ลักษณะการค้ำประกันของสมาชิกใน สอ.กฝร. เป็นอย่างไร ส่วนใหญ่แล้วสมาชิกที่กู้เงินจะมีวงของผู้ค้ำประกันที่เป็นกลุ่มเพื่อน หรือกลุ่มรุ่นพี่รุ่นน้อง เสียส่วนใหญ่ จะมีบ้างที่อาจใช้ผู้ที่มีอายุมากกว่า หรือน้อยกว่าเป็นผู้ค้ำประกัน 5. สรุปเรื่องของการค้ำประกันเป็นสิทธิโดยเฉพาะบุคคล ฉนั้น สมาชิกต้องตกลงกับผู้ค้ำประกันด้วยกันเอง ซึ่งสหกรณ์เป็นส่วนกลางของสมาชิกที่จะแบ่งปันข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่สมาชิกส่งเข้ามา และสมาชิกอื่น ๆ ก็รับข่าวสารนั้น ๆ นำไปพิจารณากันเอง
 
 
เฉพาะสมาชิกเท่านั้น กรุณาลงชื่อเข้าสู่ระบบ หรือสมัครสมาชิก คลิ๊ก
   
 

soatsolution โปรแกรมสหกรณ์ สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ฯ